แก้ชง ปี65 กับ 5 สถานที่แก้ชง ไหว้พระ เสริมดวง สะเดาะเคราะห์ เดินทางง่าย

แก้ชง ปี65 กับ 5 สถานที่แก้ชง ไหว้พระ เสริมดวง สะเดาะเคราะห์ เดินทางง่าย

แก้ชง ปี65 กับ 5 สถานที่แก้ชง ไหว้พระ เสริมดวง สะเดาะเคราะห์ เดินทางง่าย

คนปีชง 2565 อย่าง ปีวอก และปีชงร่วม ปีขาล ปีมะเส็ง ปีกุน ยกมือขึ้น หากใครยังหา สถานที่ไปไหว้แก้ปีชง ไม่ได้ เรามีแนะนำ แก้ชง ปี65 กับ 5 สถานที่ เรียกว่าใกล้ที่ไหนไปที่นั่น ตามที่ตนเองสะดวกจะดีที่สุด และต้องบอกก่อนนะ ว่าสถานที่เหล่านี้ที่เรานำมาฝากคือเวลาเปิดปิดในช่วงที่ไวรัสไม่ระบาดหนัก แต่ในสถานการณ์ที่มีโควิด สายพันธุ์โอมิครอน ระบาดช่วงนี้นั้น ก็ต้องสอบถามไปก่อนเพื่อไม่ให้ไปเก้อกันนะคะ

แก้ชง ปี65

lottoryonline

แก้ชง ปี65 วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่)

วัดจีนเก่าแก่ชื่อดังย่านเยาวราช อันเป็นสถานที่ประดิษฐานของเทวรูปสำคัญหลายองค์ ผู้คนนิยมมากราบไหว้ขอพร เพื่อแก้ชง และเสริมสิริมงคลให้กับชีวิต

เวลาทำการ : 06.00 – 17.00 น.

ตั้งอยู่ที่ 423 ถ.เจริญกรุง แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100

วัดมังกรกมลาวาส หรือที่เราชอบเรียกว่า ‘วัดเล่งเน่ยยี่’ (หรือจะออกเสียงว่า ‘วัดเหล่งเหน่ยหยี่’ ก็ได้ แล้วแต่สำเนียง) ถ้าเรียกเป็นภาษาจีนกลางก็จะออกเสียงว่า ‘หลงเหลียนซื่อ’ สร้างขึ้นในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลือกชัยภูมิสร้างวัดบนเนื้อที่ 4 ไร่ 18 ตารางวา โดยให้พระยาโชฎึกราชเศรษฐี เจ้ากรมท่าซ้าย ร่วมกับพุทธศาสนิกชนชาวจีนดำเนินการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2414 ใช้ระยะเวลาในการสร้างทั้งสิ้น 8 ปี เมื่อสร้างเสร็จจึงได้อาราธนา พระอาจารย์สกเห็ง มาเป็นเจ้าอาวาส และเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่จีนนิกายรูปแรกของประเทศไทย

วัดมังกรกมลาวาสใช้ผังแบบวัดจีน มีรูปแบบศิลปกรรมแบบจีนตอนใต้ ประกอบด้วยอาคารหลักคืออุโบสถตั้งอยู่ตรงกลาง ด้านหน้ามีวิหารจตุโลกบาล ด้านหลังเป็นวิหารบูรพาจารย์ ส่วนด้านซ้ายขวาก็มีวิหารอื่นๆ อีกหลายหลัง

แก้ชง ปี65 วัดเล่งเน่ยยี่

แก้ชง ปี65 วัดเล่งเน่ยยี่

แก้ชง ปี65 ศาลเจ้าพ่อเสือ (ตั่วเหล่าเอี๊ย)

ศาลเจ้าจีนแต้จิ๋วที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ นอกจากจะมีเจ้าพ่อเสือที่เป็นจุดเด่นแล้ว ยังมีเทพสำคัญของจีนอีกมากมายไว้ให้บุคคลที่เคารพนับถือได้มากราบไหว้บูชาอีกด้วย
เวลาทำการ : 06.00 – 17.00 น.

ตั้งอยู่ที่ : 468 ถนนตะนาว แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10200 (ถนนตะนาวใกล้กับบริเวณเสาชิงช้า กรุงเทพฯ)

ศาลเจ้าพ่อเสือเดิมสร้างขึ้นใน พ.ศ.๒๓๗๗ ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๔ ใน พ.ศ.๒๔๐๖ มีการตัดถนนบำรุงเมืองขึ้นอีกสายหลังจากตัดถนนเจริญกรุง โดยขยายเส้นทางเดิมจากสนามไชย ข้ามคลองคูเมืองที่สะพานช้างโรงสี ผ่านเสาชิงช้าและวัดสุทัศน์เทพวราราม ผ่านประตูผี ข้ามคลองโอ่งอ่าง ผ่านวัดสระเกศ ไปจนถึงคลองผดุงกรุงเกษม ที่สะพานยศเส หรือสะพานกษัตริย์ศึก ในปัจจุบัน ศาลเจ้าพ่อเสือจึงอยู่ริมถนนสายนี้

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีพระราชประสงค์ที่จะขยายถนนบำรุงเมือง ตั้งแต่เชิงสะพานช้างโรงสีฝั่งตะวันออก ให้กว้างเพื่อเป็นทางรถ และสร้างตึกแถว จำเป็นต้องรื้อศาลเจ้าพ่อเสือไปไว้ที่อื่น จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (เถียน) จัดการรื้อศาลเจ้าแห่งนี้ ไปสร้างใหม่ในที่ดินพระราชทานเนื้อที่ ๒ ไร่เศษ ริมถนนเฟื่องนคร ใกล้วัดมหรรณพาราม ซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบัน ซึ่งเป็นทางสามแพร่งที่ถนนมหรรณพจากที่ว่าการ กทม.มาบรรจบ ต่อมาถนนช่วงนี้ได้เปลี่ยนนามเป็น ถนนตะนาว เนื่องจากผ่านชุมชนที่อพยพมาจากเมืองตะนาวศรี

ลักษณะอาคารศาลเจ้าพ่อเสือสร้างตามรูปแบบศาลเจ้าที่นิยมทางภาคใต้ของจีน มี “เสียนเทียนซั่งตี้” หรือที่คนไทยเรียกว่า “เจ้าพ่อเสือ” เป็นเทพเจ้าประจำศาล
เรื่องราวตำนานของเจ้าพ่อเสือที่เล่าขานกันมาว่าเกี่ยวพันกับ “หลวงพ่อพระร่วง” พระพุทธรูปทองคำที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง และ “หลวงพ่อบุญฤทธิ์” พระประธานในพระอุโบสถ ของวัดมหรรณพรารามวรวิหาร

แก้ชง ปี65 ศาลเจ้าพ่อเสือ

แก้ชง ปี65 วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร

ภายในวัดแห่งนี้มีพระวิหารหลวงและพระประธานองค์สำคัญที่คนไทยคุ้นเคยกันดี นั่นคือ หลวงพ่อโต หรือ พระพุทธไตรรัตนนายก และยังเป็นวัดที่หลายคนนิยมไปแก้ชง สะเดาะเคราะห์ เสริมดวงชะตาอีกด้วย

เวลาทำการ : 07.00 – 17.00 น.

ตั้งอยู่ที่ : เลขที่ 371 ซอยอรุณอมรินทร์ 6 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600

วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดย เจ้าพระยานิกรบดินทร์มหินทรมหากัลยาณมิตร (โต) ได้อุทิศบ้านและที่ดินบริเวณใกล้เคียง และสร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2368 ค่ะ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 จึงพระราชทานนามว่า วัดกัลยาณมิตร และทรงสร้างพระวิหารหลวงและพระประธานพระราชทาน เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ชื่อ พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโต ด้วยมีพระประสงค์จะให้เหมือนกรุงเก่า คือมีพระโตอยู่นอกกำแพงเมืองอย่าง วัดพนัญเชิง ที่กรุงศรีอยุธยา

แก้ชง ปี65 วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร

แก้ชง ปี65 วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร

แก้ชง ปี65 วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร

แก้ชง ปี65 วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (วัดเล่งเน่ยยี่ 2)

วัดเล่งเน่ยยี่ 2 หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อวัดมังกร 2 นอกจากจะเป็นวัดที่เปิดให้ทุกคนได้เข้าไปทำพิธีแก้ชง เสริมดวงแล้ว อีกหนึ่งจุดเด่นของวัดนี้คือสถาปัตยกรรมที่สวยงามอลังการ เหมือนกับกำลังอยู่ในไต้หวันอย่างไรอย่างนั้น

เวลาทำการ : 06.00 – 18.00 น.

ตั้งอยู่เลขที่ : 75 หมู่ที่ 4 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ 2 เป็นวัดจีนในความอุปถัมภ์ของคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี โดยใช้ระยะเวลาการสร้างดำเนินการกว่า 12 ปี วัดนี้ก่อสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมในยุคหมิง-ชิง โดยจำลองมาจากพระราชวังต้องห้ามในกรุงปักกิ่ง มีความสง่างามและรายละเอียดการตกแต่งที่ประณีต ในบริเวณวัดประกอบด้วยวิหารต่างๆ ที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมตามแนวปรัชญาและคติธรรมทางพระพุทธศาสนาจีนนิกายฝ่ายมหายานประกอบด้วย วิหารพระกวนอิมโพธิสัตว์, วิหารหมื่นพุทธเจ้า, วิหารบูรพาจารย์, ห้องปฏิบัติธรรม, ที่พำนักสงฆ์ และโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดเล่งเน่ยยี่ 2 ตั้งอยู่ที่อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี

แก้ชง ปี65 วัดเล่งเน่ยยี่ 2

แก้ชง ปี65 วัดเล่งเน่ยยี่ 2

แก้ชง ปี65 วัดเล่งเน่ยยี่ 2

แก้ชง ปี65 วัดเล่งเน่ยยี่ 2

แก้ชง ปี65 วัดทิพยวารีวิหาร (วัดกัมโล่วยี่)

วัดจีนนิกายมหายานที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี และเป็นที่ประดิษฐานขององค์เทพสำคัญๆ มากมาย เหมาะสำหรับมาไหว้พระขอพร และทำบุญแก้ชงเป็นอย่างมาก

เวลาทำการ : 06.00 – 18.00 น.

ตั้งอยู่ที่ : 119 ซอยทิพย์วารี แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

วัดทิพยวารีวิหาร เป็นวัดในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน สังกัดคณะสงฆ์จีนนิกาย ที่ถึงแม้จะเห็นว่าทั้งสวยงามและดูใหม่ขนาดนี้ แต่ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2319 นั่นหมายความว่า ปัจจุบันนี้มีอายุมากกว่า 240 ปีแล้วนะ

ในอดีตชาวบ้านในชุมชนเรียกว่าวัดนี้ว่า ‘วัดกัมโล่วยี่’ คำว่า ‘กัมโล่ว’ แปลว่า ‘น้ำทิพย์’ ส่วนคำว่า ‘ยี่’ แปลว่า ‘วัด’ เมื่อรวมกันจึงมีความหมายว่า ‘วัดน้ำทิพย์’ โดยชื่อนี้มีที่มาจากบ่อน้ำมนต์โบราณซึ่งภายในบ่อเป็นตาน้ำที่ไม่เคยแห้งเหือดและอยู่คู่กับวัดมาตั้งแต่เริ่มสร้างนั่นเอง
โดยภายหลังรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานนามให้ใหม่เป็นชื่อภาษาไทยว่า ‘วัดทิพยวารีวิหาร’ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

หมายเหตุ : ด้วยสถานการณ์โควิดแพร่ระบาด อาจจะต้องลองโทรไปสอบถามดูว่าสถานที่ดังกล่าวเปิดให้บริการเป็นปกติหรือเปล่าด้วยนะ

แก้ชง ปี65 วัดทิพยวารีวิหาร

แก้ชง ปี65 วัดทิพยวารีวิหาร

แก้ชง ปี65 วัดทิพยวารีวิหาร

แก้ชง ปี65 วัดทิพยวารีวิหาร


สรุป

คำ “ปีชง” ในภาษาจีน แปลว่า การปะทะ ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งในทางที่ดีและร้าย “ปีชง” จึงหมายถึงปีที่อาจมีการปะทะ ความเชื่อเรื่องปีชงส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับ “องค์เทพไท้ส่วยเอี๊ย” หรือ “เทพเจ้าผู้คุ้มครองดวงชะตา” ที่จีนเชื่อว่ามีอิทธิพลต่อดวงชะตาหรือการดำเนินชีวิตของคน จึงมีการไหว้ขอพรเทพเจ้าองค์นี้เพื่อแก้ปีชง ขอให้ช่วยปัดเป่าความทุกข์ บรรเทาเคราะห์กรรม

คลิกได้เลยที่

*ทั้งนี้ทางเว็บไซต์ได้สนับสนุนให้เสี่ยงโชคแบบถูกกฏหมาย และเราไม่ได้เป็นเว็บไซต์เกี่ยวการพนันออนไลน์แต่อย่างใด*

lottoryonline


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แหล่งรวมข่าววาไรตี้